ทีมชาติไทย มีโปรแกรมที่เหลือในปีนี้คือ การอุ่นเครื่องในช่วงฟีฟ่า เดย์ เดือน ก.ย. ซึ่งทางสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ เล็งจัดเป็นทัวร์นาเมนต์ “คิงส์คัพ” ก่อนที่ปลายปีจะมีคิวไปป้องกันแชมป์อาเซียนในชื่อใหม่ “เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คัพ 2022”
โดย มาโน โพลกิ้ง ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ตอนนี้กำลังรอดูว่าทีมที่จะมาอุ่นเครื่องเดือน ก.ย.จะเป็นทีมใด แต่แน่นอนว่าตนต้องการเจอคู่แข่งที่แข็งแกร่ง และอันดับโลกสูงกว่าทีมชาติไทย
เพราะจะทำให้นักเตะได้เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ให้มากขึ้น ไม่ใช่ลงไปแข่งเพื่อหวังผลแพ้ชนะเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ในเกมอุ่นเครื่องช่วงฟีฟ่า เดย์ เดือน ก.ย.นี้ ตนเองอาจให้โอกาสกับนักเตะชุดยู-23 ที่ทำผลงานได้ดีตั้งแต่ศึกซีเกมส์ และชิงแชมป์เอเชีย เข้ามามีส่วนร่วมกับทีมชุดใหญ่ด้วยบางราย”
ด้าน KBU SPORT POLL โดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ม.เกษมบัณฑิต ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ทิศทางบอลไทยกับมุมมองของแฟนกีฬา” จากกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารกีฬาที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,369 คน ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ มีดังนี้
ทิศทางบอลไทยกับมุมมองของแฟนกีฬา
1. ผลงานทีมชาติไทยระดับนานาชาติ
แย่ลง 34.20%
คงที่ 32.97%
ดีขึ้น 18.55%
ไม่แน่ใจ 15.28%
2. สาเหตุของปัญหา
ขาดการบริหารจัดการที่ดี 29.36%
ระยะเวลาเตรียมทีม 27.80%
วิสัยทัศน์ผู้บริหาร 18.37%
โปรแกรมแข่งขันภายในประเทศ 13.04%
การมีส่วนร่วมของสโมสรสมาชิก 9.03%
3. แนวทางพัฒนา
หาผู้นำที่เข้าใจในฟุตบอลสมัยใหม่ 24.08%
กำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน 22.48%
พัฒนานักกีฬารุ่นเยาว์หรือดรีมทีม 20.09%
ยกระดับฟุตบอลลีกสู่มาตรฐานสากล 18.66%
พัฒนาและยกระดับผู้ฝึกสอน 8.01%
พัฒนาและยกระดับผู้ตัดสิน 4.63%
4.ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบความล้มเหลว
นายกสมาคมฟุตบอล 30.68%
สภากรรมการ 27.03%
หัวหน้าผู้ฝึกสอน 25.91%
ผู้จัดการทีม 12.37%
โดย ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กล่าวว่า “จากผลการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กลุ่มตัวอย่างได้สะท้อนมุมมองในมิติที่หลากหลายและน่าสนใจยิ่ง และเชื่อว่าถ้าสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ หรือผู้เกี่ยวข้อง นำผลสำรวจนี้ไปปรับใช้ หรือนำไปเป็นฐานข้อมูล จะมีประโยชน์กับวงการฟุตบอลไทยไม่มากก็น้อย
สนับสนุนโดย เกมมัน